เมนูปิด

ระบบแจ้งการใช้สิทธิจ้างงานผู้สูงอายุ

คำถามที่พบบ่อย

คำถาม คำตอบ
1. ใครสามารถใช้สิทธิประโยชน์ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560 นี้ได้บ้าง บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปเข้าท างาน โดยมีรายจ่ายเพื่อการจ้างงานไม่เกิน 15,000 บาท ต่อเดือนในแต่ละราย ทั้งนี้ เฉพาะการจ้างผู้สูงอายุในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของจ านวนลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
2. คุณสมบัติของลูกจ้างผู้สูงอายุ 1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย
2. มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
3. เป็นลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ้างก่อนแล้ว หรือเป็นผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
4. ไม่เป็นและไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ้างงานผู้สูงอายุดังกล่าว หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน
3. รายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุได้แก่รายจ่ายใด รายจ่ายที่เป็น เงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์ที่คำนวณได้เป็นเงิน ภาษีอากรที่ผู้จ่ายออกแทนให้ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร เงินที่จ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ไม่รวมถึง รายจ่ายที่ต้องจ่ายตามที่กฎหมายกำหนดขึ้น เช่น เงินที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
4. ค่าจ้างงานผู้สูงอายุรายที่เกิน 15,000 บาท ต่อเดือน จะสามารถใช้สิทธิส่วนที่ไม่เกิน 15,000 บาท ได้หรือไม่ เช่น บริษัทจ้างผู้สูงอายุ 16,000 บาท จะใช้สิทธิหักค่าใช้จ่าย 2 เท่าสำหรับ 15,000 บาท ได้หรือไม่ ไม่สามารถนำรายจ่ายจากการจ้างงานผู้สูงอายุรายที่จ้างเกิน 15,000 บาทต่อเดือน มาใช้สิทธิ หักเป็นรายจ่าย 2 เท่าได้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560 เช่น บริษัทมีลูกจ้างผู้สูงอายุ 2 ราย
รายที่ 1 ค่าจ้าง 15,000 บาท บริษัทสามารถใช้สิทธิหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า
ดังนั้น หักรายจ่ายได้ 30,000 บาท
รายที่ 2 ค่าจ้าง 16,000 บาท บริษัทไม่สามารถใช้สิทธิหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าได้ แต่ยังคงหักรายจ่ายตามปกติ 1 เท่าได้
ดังนั้น หักรายจ่ายได้ 16,000 บาท
5. ผู้สูงอายุเป็นลูกจ้างมากกว่า 1 แห่ง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560 ได้เพียงบริษัทเดียว โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับผู้สูงอายุเข้าทำงานก่อนจะเป็นผู้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
6. หากรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุเกิน 15,000 บาท เพียงบางเดือน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560 ในเดือนที่ไม่เกิน 15,000 บาท ได้หรือไม่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธินำรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุเฉพาะในเดือนที่มีการจ่ายค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท มาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 290) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560
7. ลูกจ้างในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะนำมาเป็นฐานในการคำนวณหาจำนวนลูกจ้างผู้สูงอายุที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560 นั้น ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือไม่ ลูกจ้างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่จำต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ต้องทำงานเต็มเดือนในประเทศไทยในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
8. คำว่า “ที่ทำงานเต็มเดือนในแต่ละเดือน” ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 290) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560 มีความหมายว่าอย่างไร ที่ทำงานเต็มเดือนในแต่ละเดือน” หมายถึง ความเป็นนายจ้าง ลูกจ้างต้องมีอยู่เต็มเดือนในแต่ละเดือน หรือ สัญญาจ้างแรงงานมีอยู่ตลอดเดือนในแต่ละเดือน
9. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ
(ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560 จะต้องจัดทำรายงานใดบ้าง
1. จัดทำรายงานเกี่ยวกับการจ้างงานผู้สูงอายุ ที่จะนำมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามแบบที่แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 290) ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560 โดยให้เก็บรักษารายงานดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบการ
2. แจ้งข้อมูลของผู้สูงอายุ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะนำมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ตามแบบแจ้งการใช้สิทธิ บนระบบเครือข่ายของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th